วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ความประทับใจช่วงปิดเทอม


ผมเชื่อว่าในช่วงเวลาที่ปิดเทอมนั้น เพื่อนๆหลายคนคงจะมีโอกาสทำอะไรหลายอย่าง  ส่วนตัวผมนั้นอาจจะทำไดไม่มากเหมือนเพื่อนคนอื่นที่เขาทำกัน  แต่สิ่งที่ผมทำนั้นผมทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ เพื่อจะให้สิ่งที่ผมทำนั้นประสบความสำเร็จ และทำออกมาแล้วให้ดีที่สุด  ในแต่ละวันของช่วงิดเทอมนั้น  ผมได้ไปช่วยแม่ขายของอยู่ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งจะได้หยุดพักเพียงแค่เสาร์-อาทิตย์เท่านั้นเอง  ตอนเช้าก็ต้อตื่นแต่เช้า ตกเย็นก็กลับบ้านมาซื้อของเพื่อเตรียมไว้ขายในวันถัดไป ทำแบบนี้ทุกๆวันและสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น คุณยายของผมก้ได้ล้มป่วยด้วยอาการชราของคุณยาย และสิ่งที่ได้ทำเป็นอย่างที่สองของผมคือ การทำโลงศพแบบโบราณที่ทำขึ้นมาเอง เพราะยายสั่งไว้ว่าถ้าหากยายตายต้องทำโลงศพขึ้นเองห้ามไปซื้อ เพราะยายเป็นคนเก่าคนแก่ยายจึงอยากได้แบบโบราณ ซึ่งหีบที่ยายอยากได้ก็มีองค์ประกอบเยอะมากและแบบที่ยายสั่งให้ทำนั้น ภาษาโย้ยและชาวอากาศอำนวยเรียกว่า "หีบแอวขัน" ซึ่งฐานของหีบจะเป็นลักษณะคล้ายๆ "ฐานบัว" เพียงแค่ไม่มีความโค้งความนูนเหมือนฐานบัว และใช้ไม้เยอะมาก ไซึ่งไม้ที่ใช้ทำนั้น นิยมใช้ไม้เนื้ออ่อนมาทำ และการทำโลงศพนั้นจะต้องอาศัยความสามัคคีและต้องมีช่าง ซึ่งช่างที่มาทำนั้นก็เป็นหลานของยายนั่นเองเพราะตระกูลทางยายเป็นช่างทำหีบรุ่นแรก ซึ่งไปดูแบบมาจากเมืองนครพนมในสมัยนั้น และการที่ได้ทำหีบให้ยายนั้นเป็นสิ่งที่ผมประทับใจมากเพราะมีคนชื่นชมว่าได้หัวคิดการประดับตกแต่มาจากไหน และต่อมาไม่นานคนในหมู่บ้านก้ตายอีกและเขาก็สั่งให้ทำหีบอีก ทางเจ้าภาพก็เลยขึ้นมาตามผมไปทำช่วย และสิ่งที่ผมประทับใจมากๆก็คือได้ยินคำๆหนึ่งที่เจ้าภาพพูดคือ "ช่างนัดมาแล้ว ถ้าช่างนัดไม่มางานจะไม่เสร็จ" ผมหัวเราะขึ้นมาทันที แล้วก้ไปทำช่วยช่างใหญ่ ซึ่งานที่ผมทำก็คือตัดกระดาษให้เป็นลายแล้วไปติดโลงศพ ตัดพวงมโหตร ตัดธุงดำนำหน้าศพ และไปช่วยดูการทำานของช่างใหญ่ว่าสวยงามหรือไม่ เพราะช่างใหญ่บอกว่าผมผ่านงานมาแล้วต้องรู้ว่าสวยหรือไม่สวย

มหกรรมภาษา ศิลปะวัฒนธรรมอาเซียน +3 (ครั้งที่2)

                มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้จัดโครงการ “ มหกรรมภาษา ศิลปะวัฒนธรรมอาเซียน +3 (ครั้งที่2)” ระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เพื่อเป็นการเตรียม ครู บุคลากร อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ในพื้นที่เขตบริการของมหาวิทยาลัยและกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อให้มีความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

โครงการ “ มหกรรมภาษา ศิลปะวัฒนธรรมอาเซียน +3 (ครั้งที่2) ” นี้ มีกิจกรรมต่างๆมากมาย เช่น นิทรรศการศิลปะภาพวาด ภาพถ่าย จากศิลปินเวียดนาม/ลาว การแสดงดนตรีโปงลางพื้นบ้านจากวง "ไทอีสาน" มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประกวดการแสดงวัฒนธรรมของราชอาณาจักรกัมพูชา ประกวดการแสดงวัฒนธรรมของสาธารณรัฐประประชาชนจีน ประกวดการแสดงวัฒนธรรมของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประกวดการแสดงวัฒนธรรมของสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ประกวดการแสดงวัฒนธรรมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกวดการแสดงวัฒนธรรมของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
ประกวดการแสดงวัฒนธรรมของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประกวดการแสดงวัฒนธรรมของสาธารณรัฐสิงคโปร ประกวดการแสดงวัฒนธรรมของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประกวดการแสดงวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น  ประกวดการแสดงวัฒนธรรมของราชอาณาจักรไทย กิจกรรมประกวด Choral Speaking Competition   ประกวด Cover Dance ASEAN+3 ประกวดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ

             
การแสดงต่างๆมีความสนุกสนานมาก บรรยากาศในหอประชุมตื่นตาตื่นใจ มีผู้ชมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ มีการจัดซุ้มของแต่ละประเทศซึ่งแต่ละซุ้มก็ให้ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกาย ภาษา และวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ

ข่าววันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ข่าววันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

              คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครได้จัดงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2558 ระหว่สงวันที่ 17-19 สิงหาคม 2558 ในกิจกรรม "จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม"
             ในระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2558 มีบุคลากรของโรงเรียนต่างๆ ได้นำนักเรียนมาศึกษาดูงาน "สัปดาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2558" ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ซึ่งเด็กๆให้ความสนใจมาก มีการแข่งขันกิจกรรมต่างๆให้เด็กๆได้เข้าร่วม เช่น กิจกรรมแข่งขัน Science Show กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ กิจกรรมตอบปัญหา กิจกรรมประกวดวาดภาพ กิจกรรมประกวดเว็บไซต์ กิจกรรมตอบปัญหาคอมพิวเตอร์ระดับมัธยม กิจกรรมจรวดขวดน้ำ ฯลฯ
              จากการสอบถามเด็กๆในแต่ละโรงเรียนทราบว่า เด็กๆชอบกิจกรรมทุกๆกิจกรรมที่ทางคณะ-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดขึ้น เพราะได้ความรู้และความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กๆอยากให้กิจกรรมนี้จัดขึ้นทุกปี

ประเพณีบุญข้าวประดับดิน

ประเพณีบุญข้าวประดับดิน

             บุญข้าวประดับดิน คือ บุญที่ทำในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 เป็นการนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ อย่างละเล็ก อย่างละน้อย แล้วห่อด้วยใบตองทำเป็นห่อเล็กๆ เป็นการทำบุญที่ชาวบ้านอากาศจัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว  เนื่องจากชาวบ้านวังปลาเซือมมีความเชื่อถือสืบต่อกันมาแต่โบราณแล้วว่า กลางคืนของเดือนเก้าดับ (วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9) เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี ดังนั้นจึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้แก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ถือว่าเป็นงานบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว
อาหารคาวหวาน ที่ใส่ห่อนั้นจะจัดใส่ห่ออย่างละเล็กละน้อย เช่น ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู กบ เขียด กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย ถั่วต้ม หมากแซว มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่นๆ ลงไปก็ได้ และขาดไม่ได้คือหมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ หลังจากนั้นนำใบตองมาห่อเข้ากันแล้วใช้ไม้กลัดหัวท้ายและตรงกลางก็จะได้ห่อข้าวน้อย ที่มีลักษณะยาวๆ
 พิธีกรรมจะจัดในตอนเช้าของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9  ญาติโยมเตรียมจัดอาหารคาวหวาน หมากพลู และบุหรี่ แบ่งเป็น 3 ส่วน  ส่วนที่หนึ่งอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และอีกสองส่วนนำไปถวายแด่พระสงฆ์ และจะนำมารวมกันไว้

หลังจากนั้นก็จะเตรียมของใส่บาตรในตอนเช้า พระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับเรื่องอานิสงฆ์ของบุญข้าวประดับดินให้ฟัง ต่อจากนั้นชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จากนั้นเป็นอันเสร็จพิธี

การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย



             ชีวิตในรั้วมหาลัย ถือว่าเป็นการเริ่มต้นใหม่สำหรับการเรียนรู้กับสิ่งต่างๆมากมาย มีทั้งเรื่องดีและไม่ดี การเรียนรู้ในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เรียนรู้วิชาการเรียนแต่ต้องมีการเรียนรู้การใช้ชีวิต การรับน้อง การคบเพื่อน การมีคนรัก แสงสีวิลัย และอื่นๆอีกมากมาย
          การเรียนในมหาลัยนั้นแตกต่างจากการเรียนในตอนมัธยม จะเข้าเรียนก็ได้ไม่เข้าก็ได้ ไม่มีใครมาคอยบอกคอยเตือน สำหรับบางวิชานั้นก็ยากมากเรียนไม่รู้เรื่อง บางวิชาก็แสนจะง่ายดาย สัปดาห์แรกที่เริ่มเรียนผมปรับตัวแทบไม่ทัน มีเรื่องอื่นๆที่ต้องคิดนอกจากเรื่องเรียนมากมาย แต่โชคดีที่ผมเริ่มปรับตัวได้ในสัปดาห์ถัดมา แต่ก็ยังปรับตัวได้ไม่มากนัก ถึงขั้นว่าโทรกลับไปที่บ้านแล้วบอกว่า เหนื่อย ท้อ ไม่ยากเรียนแล้ว แต่ที่บ้านก็พยายามเกลี่ยกล่อมและบอกว่า"ต้องพยายาม ค่อยเป็นค่อยไป ต้องอดทนให้มากๆ ใจเย็นๆพี่ๆก็เคยผ่านมาแล้วเหมือนกัน "เมื่อฟังแล้วผมก็เริ่มรู้สึกดีขึ้นและกลับมาพยายามใหม่ และผมก็เริ่มเรียนตามทันเพื่อน เรียนเข้าใจมากขึ้น จนวันนี้ผมสามารถเรียนได้อย่างมีความสุข

ข้อดี-ข้อเสีย ตัวเอง



ข้อดีข้อเสียของตัวเอง

ข้อดี
ชอบช่วยเหลือคนอื่น
เป็นคนร่าเริงแจ่มใส
เข้ากับทุกคนได้ง่าย
เป็นคนพูดตรง


ข้อเสีย
เป็นคนขี้เกียจ
พูดเสียดัง
เอาแต่ใจตัวเอง

การทำโลงศพแบบโบราณของชาวโย้ยอากาศอำนวย













การตายเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต การจัดงานศพให้แก่ผู้ตายนับเป็นประเพณีสุดท้ายเกี่ยวกับชีวิต จัดขึ้นตามพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อในศาสนาที่ตนนับถือ กลุ่มคนไทยเขมรที่นับถือศาสนาพุทธก็จะจัดพิธีศพตามหลักการของศาสนาพุทธซึ่งผสมผสานอยู่ระหว่างคตินิยมเชิงพุทธกับพราหมณ์
การทำโลงศพหรือหีบศพ แต่ก่อนชาวโย้ยไม่นิยมซื้อโลงสำเร็จรูป แต่จะช่วยกันต่อโลงเองโดยนำไม้เนื้ออ่อนมาทำ เช่น ไม้มะม่วง ไม้ตีนเป็ด (สัตบรรณ) ไม้มะกอก ไม้ฉำฉา (จามจุรี) มาต่อเป็นโลง โดยเริ่มจากการไปตัดไม้ที่มีอยู่แล้วตามหัวไร่ปลายนา ตัดเป็นแผ่นหนาประมาณ2-2.5เซนติเมตร กว้างประมาณ50เซนติเมตร แล้วนำมาต่อเป็นโลงศพตามที่ผู้ตายสั่งไว้ ซึ่งโลงศพขอชาวโย้ยจะนิยมทำกัน2แบบ คือแบบธรรมดา (คนธรรมดาทั่วไป) และแบบที่2 ชาวโย้ยเรียกว่าหีบแอวขัว (สำหรับคนมีฐานะ)ซึ่งหีบแอวขันมีความสูงมาก สูงประมาณ5เมตร แล้วแต่ช่างจะออกแบบ แล้วประดับด้วยกระดาษแก้วหลากสี นำมาตัดเป็นลวดลายต่างๆ การตั้งศพนิยมตั้งที่บ้านผู้ตาย ถ้าเป็นศพของญาติผู้ใหญ่จะตั้งไว้หลายวันตั้งแต่3 7 วัน ศพเด็กหรือศพคนที่มีฐานะยากจนจะตั้งไว้ 1-3 วัน ก็จะทำพิธีฌาปนกิจ ในช่วงที่ตั้งศพสวดอภิธรรมที่บ้านจะมีประเพณีการเล่นเรียกว่า งันเฮือนดี  หมายถึงการเล่นคบงันเพื่อสร้างความครึกครื้นเพื่อดะการโศกเศร้า โดยมีการเล่นต่างๆเช่น เล่นหมากเก็บหอย หมากล่อไม้ เต้นกระทบไม้ หมากปิ่นบ่วงกินน้ำ หรืออื่นๆ


วิธีขั้นตอนการทำหีบศพ
              1.การตัดไม้
                2.การซอยไม้ การเลื่อยไม้
                     3.ตั้งคายก่อนทำโลง
                4.การต่อโลงศพ
                5.การหอ(หลังคา)
                6.การทำคอกหีบชั้นที่2 (แบบธรรมดาจะเป็นชั้นที่1)
                7.การทำคอกหีบชั้นที่1 (ถ้าทำแบบแอวขัน)
                8.การประดับตกแต่งด้วยกระดาษหลากสี



ปั่นเพื่อพ่อ




BIKE FOR DAD "ปั่นเพื่อพ่อ" 

        เป็นกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 ชาวจังหวัดสกลนครก็ได้เข้าร่วมในโครงการด้วย  ในวันที่ 11  ธันวาคม 2558  ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากที่เข้าร่วม

ลอยกระทง



             วันลอยกระทง ของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขึ้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง และวันลอยกระทงปีนี้ตรงกับวันที่  25  พฤศจิกายน   2558  

ช่วยงานวันหยุด




ภาพถ่ายที่บ้านเจ้าภาพ

                     ภาพนี้เป็นภาพที่กำลังประดับตกแต่งคอกของโลงศพที่ทำเองกับมือ โดยช่างในหมู่บ้าน ซึ่งจะประกอบด้วยช่างไม้และช่างตัดกระดาษ และหนึ่งในนั้นก็มีผมด้วยที่ไปช่วยตัดกระดาษและใส่ผ้าม่านในคอกโลงศพให้สวยงามตามที่เจ้าภาพต้องการ ซึ่งการช่วยงานศพนั้นเป็นสิ่งที่ดีเพราะเป็นการทำให้คนที่ตายและเจ้าภาพเห็นความสำคัญของเรา และในเมื่อเราเคยไปช่วยงานเขา พอบ้านเรามีงานเขาก็จะมาช่วยงานเราอย่างเต็มที่