วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การทำโลงศพแบบโบราณของชาวโย้ยอากาศอำนวย













การตายเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต การจัดงานศพให้แก่ผู้ตายนับเป็นประเพณีสุดท้ายเกี่ยวกับชีวิต จัดขึ้นตามพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อในศาสนาที่ตนนับถือ กลุ่มคนไทยเขมรที่นับถือศาสนาพุทธก็จะจัดพิธีศพตามหลักการของศาสนาพุทธซึ่งผสมผสานอยู่ระหว่างคตินิยมเชิงพุทธกับพราหมณ์
การทำโลงศพหรือหีบศพ แต่ก่อนชาวโย้ยไม่นิยมซื้อโลงสำเร็จรูป แต่จะช่วยกันต่อโลงเองโดยนำไม้เนื้ออ่อนมาทำ เช่น ไม้มะม่วง ไม้ตีนเป็ด (สัตบรรณ) ไม้มะกอก ไม้ฉำฉา (จามจุรี) มาต่อเป็นโลง โดยเริ่มจากการไปตัดไม้ที่มีอยู่แล้วตามหัวไร่ปลายนา ตัดเป็นแผ่นหนาประมาณ2-2.5เซนติเมตร กว้างประมาณ50เซนติเมตร แล้วนำมาต่อเป็นโลงศพตามที่ผู้ตายสั่งไว้ ซึ่งโลงศพขอชาวโย้ยจะนิยมทำกัน2แบบ คือแบบธรรมดา (คนธรรมดาทั่วไป) และแบบที่2 ชาวโย้ยเรียกว่าหีบแอวขัว (สำหรับคนมีฐานะ)ซึ่งหีบแอวขันมีความสูงมาก สูงประมาณ5เมตร แล้วแต่ช่างจะออกแบบ แล้วประดับด้วยกระดาษแก้วหลากสี นำมาตัดเป็นลวดลายต่างๆ การตั้งศพนิยมตั้งที่บ้านผู้ตาย ถ้าเป็นศพของญาติผู้ใหญ่จะตั้งไว้หลายวันตั้งแต่3 7 วัน ศพเด็กหรือศพคนที่มีฐานะยากจนจะตั้งไว้ 1-3 วัน ก็จะทำพิธีฌาปนกิจ ในช่วงที่ตั้งศพสวดอภิธรรมที่บ้านจะมีประเพณีการเล่นเรียกว่า งันเฮือนดี  หมายถึงการเล่นคบงันเพื่อสร้างความครึกครื้นเพื่อดะการโศกเศร้า โดยมีการเล่นต่างๆเช่น เล่นหมากเก็บหอย หมากล่อไม้ เต้นกระทบไม้ หมากปิ่นบ่วงกินน้ำ หรืออื่นๆ


วิธีขั้นตอนการทำหีบศพ
              1.การตัดไม้
                2.การซอยไม้ การเลื่อยไม้
                     3.ตั้งคายก่อนทำโลง
                4.การต่อโลงศพ
                5.การหอ(หลังคา)
                6.การทำคอกหีบชั้นที่2 (แบบธรรมดาจะเป็นชั้นที่1)
                7.การทำคอกหีบชั้นที่1 (ถ้าทำแบบแอวขัน)
                8.การประดับตกแต่งด้วยกระดาษหลากสี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น